วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2556

เข้าใจ ก่อนตัดสินใจ เพราะ เราให้มากกว่าที่คุณคิด

บ้านสำเร็จรูปที่คุณเข้าใจคืออะไร ? มาจากไหน ? เพื่ออะไร ?
ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่บูมมานานในต่างประเทศ และกำลังมาแรงขึ้นเรื่อยๆ ในบ้านเรา สำหรับ บ้านน๊อคดาวน์ หรือ บ้านสำเร็จรูป ที่ว่ากันว่ามีข้อดีมากมาย ทั้งง่าย สะดวก ราคาถูกกว่า แข็งแรงทนทาน แถมรวดเร็วทันใจ เพราะ บ้านน๊อคดาวน์ บ้านสำเร็จรูป ที่ว่านี้ใช้เวลาก่อสร้างเพียง 1-2 เดือนเศษ ก็สามารถหอบกระเป๋าเข้าอยู่ได้ทันที

บ้านน๊อคดาวน์ คืออะไร?
          บ้านน๊อคดาวน์ คือ บ้านสำเร็จรูป (Finished home) เป็นการสร้างบ้านโดยยึดหลักระบบโครงสร้างผนังรับน้ำหนัก 

(Wall Bearing System) กล่าวคือ บ้านน๊อคดาวน์ จะไม่มีเสาและคาน แต่จะใช้ผนังเป็นตัวรับน้ำหนักแทน ทั้ง นี้ ผนังและส่วนประกอบต่างๆ ภายในบ้านจะถูกออกแบบด้วยระบบคอมพิวเตอร์ แล้วนำชิ้นส่วนทั้งหมดมาประกอบกัน ซึ่งการสร้าง บ้านน๊อคดาวน์ นิยมมากที่ประเทศญี่ปุ่น แถบยุโรป และประเทศที่มักเกิดเหตุแผ่นดินไหวบ่อยๆ หรือประสบภัยธรรมชาติบ่อยครั้ง เนื่องจากการสร้าง บ้านน๊อคดาวน์ ใช้เวลาก่อสร้างเร็ว ราคาถูกกว่า ความแข็งแรงทนทานทัดเทียมกับการสร้างบ้านแบบก่ออิฐฉาบปูน 
          สำหรับวิธีการสร้าง บ้านน๊อคดาวน์ บ้านสำเร็จรูป จะเริ่มต้นจากการตอกเสาเข็ม ทำฐานรากและคานคอดิน เหมือนกับการก่อสร้างบ้านแบบก่ออิฐฉาบปูน จากนั้นจึงเริ่มนำแผ่นพื้นและผนังสำเร็จรูปเข้ามาประกอบตามที่ได้ออกแบบไว้ โดยชิ้นส่วนต่างๆ จะได้รับการเชื่อมประสานตามเทคนิควิธีของแต่ละระบบ ซึ่งถือเป็นขั้นตอนสำคัญในการสร้าง บ้านน๊อคดาวน์ เพราะการเชื่อมต่อจะต้องมีมั่นคง กันน้ำรั่วซึม และสามารถรับแรงด้านข้างได้  
          บ้านน็อคดาวน์ บ้านสำเร็จรูป จะผลิตด้วยวิธีใดนั้นขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีของผู้ผลิตหรือผู้ก่อสร้างแต่ละ ราย เช่น ผนังคอนกรีตเสริมเหล็ก สำเร็จรูป, ผนังคอนกรีตเสริมเหล็ก แบบแซนวิช (ผนัง 2 แผ่น เว้นช่องไว้สำหรับเทคอนกรีตเชื่อม) เป็นต้น การเชื่อมต่อ(Connection) ของแต่ละชิ้นส่วนที่นำมาประกอบก็แตกต่างกันไป เช่น บางระบบเชื่อมต่อด้วย น็อต, คอนกรีต หรือแผ่นคอนกรีตเสริมเหล็กแบบเข้าลิ้น หรือมีระบบล็อคในตัว เป็นต้น 
         Baansuwannarin ของเราจะใช้ระบบอะไร ?
ตอบ : เราใช้ระบบพรีคาสท์คอนกรีต (Precast concrete) ซึ่งเป็นวิธีการดำเนินการก่อสร้างระบบหนึ่ง ที่ปัจจุบันวงการก่อสร้างในบ้านเรา เริ่มนิยมใช้ ถามว่าทำไมเริ่มนิยมใช้ จริงๆ แล้วระบบพรีคาสท์ในบ้านเรามีการใช้มานานมาก แต่มีการเลือกนำไปใช้สำหรับการก่อสร้างบางอย่าง เช่น การก่อสร้างสะพาน ทางยกระดับหรือพวกทางด่วน นั่นเอง ส่วนงานด้านอาคาร บ้าน ห้องแถว ตึกแถวนั้น ก็ ยังไม่นิยมใช้งานกันมากนัก ก็จะมีเห็นบางชิ้นงาน นั่นก็คือ ชิ้นส่วนพื้นสำเร็จรูป แต่หากนับรวมองค์อาคารทั้งหมดแล้วยังน้อยมาก
ทำไม ถึงต้องเรียกว่า พรีคาสท์ precast แน่นอนครับหลายๆ คน คงงง หรือยังไม่ทราบว่ามันคืออะไร เป็นการทำบ้านหรืออาคารแบบของเล่นมาต่อๆกัน เหรอ แล้วคำว่า พรีแฟ็บ prefab มันต่างกันยังไงกับพรีคาสท์ ผมขอแยกหรืออธิบายให้ง่ายๆ เพื่อให้เห็นภาพให้ชัดเจนอย่างนี้นะครับ
คำ ว่า พรีคาสท์ มาจาก precast นั้นคือ pre+cast คำว่า pre นั่นคือ ก่อน ส่วนคำว่า cast แปลว่า การหล่อหรือการเทในแบบ นั้นเอง เมื่อสองคำมารวมกัน ก็สามารถแปลได้ว่า เป็นการหล่อหรือเทในแบบก่อนนำไปใช้งานหรือก่อนการประกอบ
เอา ละครับแล้วมาถึง คำว่า พรีแฟ็บ prefab จริงแล้วน่าจะตัดมาสั้นๆนะครับคำเต็มๆ คือ prefabicate หรือ prefabication คือการประกอบชิ้นส่วนเข้าด้วยกันก่อนนำไปติดตั้ง ส่วนมากก็มักนิยมใช้กับงานเหล็กที่ตัดเป็นชิ้นๆ แล้วนำมาต่อกันเป็นรูปร่างที่ต้องการเป็นส่วนๆ แล้วค่อยนำไปประกอบเป็นงานองค์รวม ซึ่งเรื่องว่าการ installation หรือ erection แล้วแต่กรณีครับ
สำหรับงานก่อสร้างที่เลือกใช้ ชิ้นส่วนโครงสร้างที่ทำการหล่อเป็นชิ้นงาน แล้วมาประกอบติดตั้งเป็นโครงสร้างในหน่วยงานก่อสร้างนั้นเรามักเรียกว่า พรีคาสท์ precat contrete ครับ หรือเรียกว่า ชิ้นส่วนโครงสร้างคอนกรีตสำเร็จรูป ซึ่งแแต่ละชิิ้นส่วนก็จะได้รับการออกแบบให้มีความมั่นคงแข็งแรง ตามหลักวิศวกรรม แตกต่างกันไปตามโครงสร้างอาคารและการทำหน้าที่ของแต่ละช้นส่วนขององค์อาคาร นั้นๆ

                     โปรดติดตาม กันต่อไป กับ บทความหน้านะครับ.......

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น